ปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์
-อินพุทแจ๊ค (Input Jacks)
ทำหน้าที่รับสัญญาณจากไมโครโฟน หรือจากเครื่องดนตรีต่างๆ ที่เป็นไลน์ (line) ตำแหน่งมักอยู่ด้านบนสุดของเมิกเซอร์ลักษณะของเต้ารับสัญญาณ (jack) จะมีอยู่สามแบบคือ RCA (-10dB) , 1/4 นิ้ว (balance & unbalance) และ XLR การใช้เต้ารับสัญญาณนั้นขึ้นอยู่กับราคาของเครื่องมิกเซอร์นั้นหากมีราคาแพง เต้ารับสัญญาณจะเป็นแบบ XLR ส่วนมิกเซอร์แบบกึ่งโปรจะใช้เต้าแบบ RCA และขั้วต่อแบบ TS 1/4 นิ้ว
-แฟนทอม (Phantom)
ทำหน้าที่จ่ายไฟให้กับไมโครโฟนที่เป็นแบบ คอนเดนเซอร์ ไฟที่ออกมาจะเป็นไฟแบบดีศี (DC) ซึ่งมีแรงดันระหว่าง 12-48 โวลต์
-เฟส (Phase)
ทำหน้าที่ปรับแก้ไขเฟสที่ไม่ถูกต้องที่อาจเกิดจากการต่อขั้วสายที่ผิดพลาด หรือจากการวางไมค์หลายๆตัวที่อาจก่อให้เกิดการกลับเฟส (มักเกิดจากการวางไมค์มากกว่าสองตัวขึ้นไป) ให้คืนอยู่ในสภาพปกติ สวิทช์เฟสนี้จะพบในเฉพาะมิกเซอร์ราคาแพงเท่านั้น ซึ่งใช้สัญลักษณ์(ø)
-แพด (Pad)
จะพบสวิทช์นี้ในมิกเวอร์ที่มีราคาแพงขึ้นมา ทำหน้าที่ลดความแรงของสัญญาณที่เข้ามาลง -20dB และในมิกเซอร์บางยี่ห้อจะใช้คำว่า MIC ATT (microphone attenuation) ซึ่งทำหน้าที่เหมือนกัน
-สวิทช์เลือกไมค์,ไลน์,เทปอินพุท (Mic/Line/Tape Input Select)
ทำหน้าที่เป็นตัวเลือกแหล่งสัญญาณที่เข้ามาเพื่อให้ความเหมาะสมของระดับ สัญญาณ ก่อนที่จะป้อนเข้าสู่ภาคปรีแอมป์ในมิกเซอร์ โดยไม่ก่อให้เกิดความผิดเพี้ยนของระดับสัญญาณ
-เกน (Gain) หรือ อินพุททริม (Input Trim)
ทำหน้าที่ปรับแต่งความแรงของสัญญาณที่เข้ามาหลังจากภาครับ (input) เพื่อเร่งหรือลดความแรงสัญญาณที่เข้ามาให้เหมาะสมต่อภาคปรีแอมป์ (pre-amp) มากที่สุด แลพเพื่อเลี่ยงการเกิดอาการแตกพร่า (distortion) ในขณะใช้งานเราสามารถปรับระดับสัญญาณได้ด้วยการดูที่มิเตอร์ (VU meter)
-พีคมิเตอร์ (Peak Meter)
ทำหน้าที่คอยเตือนระวังความแรงของสัญญาณที่เข้ามาในแชลเนลนั้นๆ ของมิกเซอร์ input เพื่อไม่ให้มีค่าที่กำหนดไว้โดยไฟจะสว่างขึ้น เมื่อไฟสว่างให้ปรับลดที่เกน (gian)
วิธีการดูสัญญาณที่ขึ้นพีคนั้นสามารถช่วยให้สามารถเร่งความแรงของสัญญาณที่ เข้ามาได้เต็มขณะที่เราวัดจาก VU meter และทำให้เราทราบได้ว่ามีช่วงไหนของสัญญาณที่มีความแรงสูงสุด
-โลว์พาสฟิลเตอร์ (Lowpass-Filter)
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณความถี่สูงระหว่าง 8-10kHz เพื่อไม่ให้ผ่านไปได้ แต่ยอมให้ความถี่ต่ำผ่านไปได้โดยสะดวก ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆสามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการตัดไม่ให้ ผ่านได้อีกด้วย
-ไฮพาสฟิลเตอร์ (Highpass-Filter)
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณเฉพาะย่านความถี่ต่ำประมาณ 80Hz ไม่ให้ผ่านไปได้แต่ยอมให้ความถี่สูงผ่านไปได้ซึ่งในเครื่องมิกเซอร์ราคาแพงๆ สามารถตั้งค่าความถี่สูงที่ต้องการให้ผ่านได้อีกด้วย
-แชลเนลมิว (Channel Mute)
ทำหน้าที่ปิด-เปิดสัญญาณเฉพาะที่เข้ามาในแต่ล่ะแชนเนลของมิกเซอร์ ประโยชน์ของปุ่มนี้ช่วยให้กำหนดการปิด-เปิด ของสัญญาณในแต่ล่ะช่องที่ได้เป็นอิสระ
-อินเสิดแจ๊ค (Insert Jack)
ทำหน้าที่เสหมือนสวิทช์ร่วมที่เชื่อมอุปกรณ์จากภายนอกเพื่อให้เข้ามาผสมกับ สัญญาณที่อยู่ในแต่แชนเนลของมิกเซอร์ ทำให้สามารถแยกสัญญาณจากแชนเนลเพื่อส่งไปเข้าเครื่องมือช่วยปรุงเสียงต่าง เช่นคอมเพรสเซอร์ หรือดีเลย์ ได้เป็นอิสระของแต่ล่ะช่องเสียง
-อีควอไลเซอร์ (Equalizer)
ทำหน้าที่ปรับความถี่ของสัญญาณที่เข้ามาเพื่อปรับแต่งหาความถูกต้องตามที่ ต้องการ เรานิยมเรียกย่อว่า อีคิว(EQ) ลักษณะการทำงานของอีควนั้นจะมีแบบตั้งแต่แบบง่ายๆ สองย่านความถี่คือเสียงสูง (treble) และความถี่ต่ำ (bass) ไปจนถึงแบบละเอียดที่มีครบทุกความถี่ (สูง กลาง ต่ำ) ซึ่งจะเป็นอีคิวแบบที่เรียกว่า พาราเมทริกอีคิว (parametric EQ)
-อีคิวบายพาส (EQ bypass)
ทำหน้าที่ปิดหรือเปิดในการใช้อีคิวหรือจะไม่ใช้ ทั้งนี้เพื่อการฟังเปรียบเทียบการใช้อีคิวและไม่ใช้ว่า สัญญาณเสียงก่อนใช้อีคิวและหลังใช้จะเป็นอย่างไร
-เฟดเดอร์ (Fader)
ทำหน้าที่ปรับเพิ่มลดระดับสัญญาณที่เข้าและออกไปจากมิกเซอร์ output เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปหรือเครื่องขยายเสียง บางครั้งเรานิยมเรียกกันทั่วไปว่า วอลลุ่ม (volume)
-สตูดิโอเลฟเวล (Studio Level)
ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของเสียงที่ส่งออกมาจากมิกเซอร์เพื่อส่งเข้าไป ยังห้องที่บันทึกเสียงเครื่องดนตรีก็คือห้อง Studio นั่นเอง
-คอนโทรลรูมเลฟเวล (Control Room Level)
ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของเสียงที่ได้ยินทั้งหมดจากมิเซอร์ สำหรับภายในห้องควบคุมเสียง (control room)
-โซโล (Solo) หรือ PFL
ทำหน้าที่ตัดสัญญาณในแต่ล่ะช่องเสียงออมาเพื่อการฟังโดยอิสระโดยเราจะได้ ยินเฉพาะช่องเสียงที่เรากดปุ่มโซโลใช้งานอยู่เท่านั้น โดยไม่จำเป็นต้องปิดร่องเสียงอื่นๆเช่น ในขณะที่กำลังฟังเสียงที่เข้ามาในมิกเซอร์สี่ช่องเสียงพร้อมๆกัน และเราต้องการฟังตรวจสอบเสียงจากช่องเสียงที่สองเพียงช่องเดียวเราก็กดปุ่ม โซโลลงไป เราก็จะได้ยินเสียงจากช่องเสียงสองเท่านั้นซึ่งมันจะทำหน้าที่ตัดเสียงแยกใน ช่องเสียงอื่นๆให้เงียบโดยอัตโนมัติ
-โซโลเลฟเวล (Solo Level) หรือ PFL Level
ทำหน้าที่ควบคุมสัญญาณดังเบาเสียงของโซโลในช่องเสียงต่างๆ บนมิกเซอร์ทั้งหมดว่าให้อยู่ในระดับความดังเบาเท่าไหร่ตามความต้องการของ เฮ้นจิเนียร์เพื่อความสมดุลของเสียงเมื่อกดออก เพื่อฟังรวมกับระดับเสียงปกติ จะได้ไม่ต่างในเรื่องของความดังเบาเสียงมากจนเกินไป
-อ๊อซิเลียอะรี (Auxiliary)
เรียกย่อๆว่า ออกเซนด์ (aux send) ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณที่เข้ามาในแต่ล่ะช่องเสียงเพื่องส่งออกไปยัง อุปกรณ์ปรุงแต่งเสียงต่างๆ หรือแหล่งรับสัญญาณอื่นๆตามที่เราต้องการ ออกเซนด์ จะมีมาสเตอร์ออก (master aux ) ซึ่งควบคุมความแรงของสัญญาณ AUX ทั้งหมดในทุกช่องเสียงบนมิกเซอร์อีกต่อหนึ่ง
-พรี (Pre)
หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลเสียงของมิกเซอร์ จะถูกดักออกมาก่อนจะเข้าสู่เฟดเดอร์หลักที่เครือ่งมิกเซอร์ ซึ่งเมื่อดึงเฟดเดอร์หลักลงมาเพื่องลดสัญญาณเสียงลง สัญญาณเสียงก็จะไม่เบาตามไปด้วยแต่กจะไปดังออกที่ภาคพรี (pre) ซึ่งอาจจะพ่วงต่อไปยังเอฟเฟ็คต่างๆ เช่น รีเวอร์บ เป็นต้น ดังนั้นเสียงที่ยังคงได้ยินก็จะเป็นเสียงที่มากจากรีเวิร์บนั่นเอง ผลคือสัญญาณที่เข้ามาจะเป็นอิสระไม่ขึ้นกับเฟดเดอร์หลักทำให้สามารถนำสัญญาณ นั้นๆไปใช้เพื่อผลได้ตามแต่ต้องการ
-โฟสต์ (Post)
หมายถึงสัญญาณที่เข้ามาในแชนเนลเสียงของมิกเซอร์ จะมีผลดังเบาตามเฟดเดอร์หลัก คือเมื่อเราลดเฟดเดอร์ลงสัญญาณที่เข้ามาก็จะลดลงตามไปด้วย แม้ว่าสัญญาณจะถูกแยกส่งออกไปยังเอฟเฟคอื่นๆก็ตาม
-แพน (Pan)
ทำหน้าทราเคลื่อนย้ายตำแหน่งสัญญาณให้ไปทางซ้ายหรือขวาและยังทำหน้าที่เป็น ตัวถ่ายโอนสัญญาณร่องเสียง (track) เพื่อป้อนเข้าสู่เครื่องบันทึกเทปอีกด้วย
-กรุ๊ป หรือ บัส (Group or Bus)
ทำหน้าที่รวมสัญญาณที่เข้ามาจากหลายช่องเสียง (channel) เพื่อรวมสัญญาณให้ออกที่ output เดียวเพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียงหรือช่องเสียงภายในมิกเซอร์เอง เช่น เราสามารถกรุ๊ป หรือ บัสเสียงของกลุ่มนักร้องประมานเสียงจากหลายๆช่องเสียงบนมิกเซอร์ ให้ออกเป็นช่องเสียงเดียวกันได้ ด้วยการควบคุมเฟดเดอร์เพียงตัวเดียวเพื่อสดวกต่อการควบคุมดังเบาของสัญญาณ เสียงทั้งหมด
-เลือกแทรคเสียง (Track Selected)
ในมิกเซอร์ที่มีราคาแพงนั้นจะอยู่ด้านบนสุดเป็นส่วนใหญ่ ทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณว่าจะให้ออกไปสู่ช่องเสียงใดที่เครื่องบันทึกเทป แบบมัลตีแทรค ซึ่งอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า ไดเร็คแอสไซน์ (direct assign)
-ไดเร็ค เอ๊าพุท (Direct Output)
ทำหน้าที่ดักสัญญาณที่เข้ามาโดยไม่ผ่านปุ่มต่างๆบนมิกเซอร์ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำสัญญาณสดๆนี้ ไปต่อพวกกับอุปกรณ์แต่งเสียง (effects) หรือเครื่องบันทึกเสียงได้โดยตรง ตามแต่วัตถุประสงค์ และในขณะใช้งานฟังชันต่างๆเช่น อีคิว ก็ไม่มีผลต่อสัญญาณต้นฉบับโดยไม่โดนปรุงแต่งเสียก่อน
-เอฟเฟค เซนด์ (Effect Send)
ทำหน้าที่จ่ายสัญญาณออกมาจากตัวมิกเซอร์ในแต่ล่ะช่องเสียงไปสู่เอฟเฟคต่าง ไเช่น รีเวิร์บ (reverb) หรือดีเลย์ซึ่งมักใช้ปุ่ม aux เป็นตัวส่งสัญญาณ
-เอฟเฟค รีเทอร์น (Effect Return)
ทำหน้าที่รับสัญญาณที่ผ่านมาจากอุปกรณ์ต่างๆที่ถูกป้อนมาจาก effect send อีกทีหนึ่งเพื่อการได้ยินเสียงที่ส่งออกมาจากเครื่องเอฟเฟค
-สเตอริโอ มาสเตอร์ เฟดเดอร์ (Stero Master Fader)
มีอยู่สองลักษณะคือแบบ สไลด์โวลุ่ม (slide volume) และแบบหมุน (rotary pot) ทำหน้าที่เป็นปรับความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดบนมิกเซอร์ทั้งซ้ายขวาก่อนที่ จะออกไปสู่เครื่องมือต่างๆ
-กรุ๊ปหรือบัสเอาต์พุตเฟดเดอร์ (Group or Buss Out Faders)
หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า ซับกรุ๊ป เฟดเดอร์ (subgroup faders) ควบคุมการส่งออกของสัญญาณที่มาจากกรุ๊ป หรือบัสอินพุทเฟดเดอร์ (buss input fader) โดยจะแยกเป็นสเตอริโอซึ่งทีแพน (pan) ทำหน้าที่ควบคุมการส่งสัญญาณไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อให้ผลของการมิกซ์เสียง หรือการจัดตำแหน่งสัญญาณ
-สเตอริโอบัส อินพุท (Stero Buss Input)
ทำหน้าที่รองรับสัญญาณจากเเหล่งสัญญาณอื่นๆ เพื่อให้สามารถนำสัญญาณมาใช้สัญญาณร่วมกัน เช่นกรณีที่ใช้มิกเซอร์สองตัวโดยตัวแรกใช้สำหรับรองรับสัญญาณจากเครื่อง ดนตรีและเสียงร้อง ส่วนมิกเซอร์ตัวที่สองใช้สำหรับกลุ่มคีย์บอร์ด แต่เราต้องการควบคุมสัญญาณทั้งหมดจากมิกเซอร์ตัวแรก เรามารถทำได้ด้วยการส่งสัญญาณจากมิกเซอร์ในตัวที่สองจากภาคเอาต์พุทสเตอร์ริโอ (outut stero) แล้วต่อเข้าที่สเตอริโอบัส (stereo buss) ที่ว่านี้ในมิกเซอร์ตัวแรกซึ่งจะทำให้สามารถควบคุมความแรงของสัญญาณจาก มิกเซอร์ตัวที่สอง ได้ที่มิกเซอร์ตัวแรกในภาคสเตอริโอบัสของมิกเซอร์ตัวแรก
-ออกซิเลียรี เซนด์ มาสเตอร์ (Auxiliary Send Masters)
ทำหน้าที่ควบคุมความดังเบาของสัญญาณทั้งหมดที่มาจาก aux จากแต่ล่ะช่องเสียงในมิกเซอร์ หากเราปิด aux send master ถึงแม่เราจะส่งสัญญาณจาก aux ในแต่ละแชนเนลก็จะไม่มีเสียงดัง ในทางตรงข้าม หากเราเพิ่มระดับความแรงของ aux send master ความแรงของสัญญาณจาก aux ในแต่ละช่องเสียงบนมิกเซอร์ก็จะดังทั้งหมด
-ทอร์คแบ็ค (Talk Back)
ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารกันระหว่างห้องควบคุมและห้องบันทึกเสียง ซึ่งจะมีไมโครโฟนเล็กๆ (condencer mic) ที่อยู่บนมิกเซอร์ทำหน้าที่ติดต่อสื่อสารระหว่างเอ็นจิเนียร์และนักดนตรี
-เฮดโฟน (Headphone Control)
เฮดโฟนคอนโทรลจะทำหน้าที่เป็นตัวจ่ายสัญญาณจากมิกเซอร์ไปให้หูฟัง
-โทนออสซิเลเทอร์ (Tone Oscillator)
มักใช้อักษรย่อๆ คือ OSR ทำหน้าทีท่สัญญาณความถี่เสียงสูงกลางต่ำเพื่อใช้สำหรับตรวจสอบและอ้างการทำ งานต่างๆของมิกเซอร์ เช่น วัดตรวจสอบความสมดุลซ้ายขวาของมิกเซอร์ เป็นต้น ส่วนใหญ่จะสร้างความถี่ที่ 40Hz ,400Hz,1kHz,4kHz,10kHz,15kHz