dbx goRack Portable DriveRack LoundSpeaker Manager
goRack เป็นเครื่องมือโปรเซสเซอร์ขนาดเล็ก ง่ายต่อการใช้งานโดยเฉพาะกับงานแบบ Pertable PA ตั้งค่าการปรับแต่งและประมวลผลสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยฟังก์ชั่นในตัว คล้ายๆกับนำเอา EQ Compresser, Anti-Feedback ฯล ย่อส่วนมาเป็นรวมเป็น goRack
“ ปกติเวลาเล่นโฟล์คซองอาจจะใช้มิกเซอร์ 1 ตัว เพื่อต่อไมค์ร้องเข้าไป
แล้วต่อสัญญาณไลน์หรือไมค์จากกีตาร์เข้าตัวมิกเซอร์
เพียงแค่มี goRack ก็พอ ไม่จำเป็นต้องมีมิกเซอร์ ”
goRack มันคืออะไร…? ผู้เขียนยิงคำถามแรกให้ฝ่ายเทคนิคเอ็นจิเนียร์ของมหาจักรฯ ผู้ซึ่งทำหน้าที่พรีเซ้นต์ ฝ่ายเทคนิคฯตอบว่า... มันเป็นคอนเซ็ปต์ของอุปกรณ์สำหรับโปรเฟสชันนัลที่นำ DriveRack มาย่อส่วนให้มีขนาดเล็ก กลายมาเป็น goRack ไอเดียสำหรับการนำไปใช้งานก็คือ แค่คุณมี goRack หนึ่งตัว ไม่ต้องใช้มิกซ์ ใช้ไมค์เสียบเชื่อมต่อหรือนำสัญญาณออดิโอมาเชื่อมต่อ แล้วสัญญาณเอาต์พุตที่ส่งออกมาจะเป็น L/R หรือจะเอาสัญญาณมาเข้าช่องที่ 1 หรือ 2 จุดเด่นของอุปกรณ์ตัวนี้จะทำหน้าที่เป็นโพรเซสเซอร์ เริ่มจากทำหน้าที่เป็น EQ, คอม เพรสเซอร์, Sub Synth… ถามว่ามันคืออะไร... มันทำหน้าที่เป็นซับฮาร์โมนิค... สมมติเราป้อนเสียงจะเป็นจากออดิโอหรือไมค์ก็แล้วแต่ หากพบว่าความถี่ต่ำๆ ยังไม่อิ่มพอ แค่กด Sub Synth ก็สามารถเพิ่มได้... เดี๋ยวลองมาดูกัน มันก็เหมือนเป็นระบบมัลติฟังก์ชัน ถ้าจะเรียกว่าเป็นเอฟเฟ็กต์ขนาดย่อมคงไม่ถึงขั้นนั้น เรียกว่าเป็นโพรเซสเซอร์ขนาดย่อมน่าจะใกล้เคียงที่สุด เป็นลูกผสมระหว่าง DriveRack กับพวก EQ และมิก เซอร์จิ๋ว แต่ว่าพวก DriveRack ซึ่งเป็นครอสโอเวอร์ก็มีพวก EQ อยู่ในตัวอยู่แล้ว ดังนั้นอุปกรณ์ตัวนี้จึงเหมือน DriveRack แบบย่อส่วนลงมา แต่ว่าตัวนี้ไม่สามารถตัดครอสฯ ได้ แต่สามารถคัต EQ ได้ สั่งคอมเพรสฯ สัญญาณได้ รวมถึงมี Anti-Feedback ให้ด้วย แต่ว่าโปรแกรมไม่ได้ เมื่อเปิดเครื่องครั้งแรกตรงจอแสดงผลจะขึ้นตัวเลข 99 ซึ่งเป็นระดับเสียง โดยจะมีตัวควบคุมระดับความดังหรือโวลุ่มให้ด้วย ซึ่งจะแสดงผล 100 ระดับ คือ 0-99 ตัว Data wheel จะหมุนได้ไม่สิ้นสุดแต่ตัวเลขจะรันได้เพียง 99
เราท์ติ้งโหมด
อันดับแรกมาดูเราท์ติ้งโหมด เริ่มจากโหมดแรกมันจะเป็นโมโน ซึ่งโหมดนี้สามารถนำสายมินิแจ็คหรืออินพุตขนาด 1/8 นิ้ว เป็นสเตอริโอ TRS แต่เป็นขนาดเล็ก และตัวอุปกรณ์มีช่องเชื่อมต่อกับไมโครโฟนอินพุต เป็นไมค์เดียวก็ได้หรือสองไมค์ก็ได้ ซึ่งอีกออปชันนึงนำออกจากมิกซ์มา มาเป็น LR แต่เวลาออกไปจะซัมเป็นโมโน หมายความว่าเข้าเป็นสเตอริโอออกเป็นโมโน หรือถ้ากรณีเราใช้ร่วมกับมิกเซอร์ สามารถนำสัญญาณ L/R เข้ามาที่อุปกรณ์ตัวนี้ได้ แล้วนำเอาต์พุตไปเข้าตู้แอมป์ก็ทำได้ อย่างที่กล่าวไปอุปกรณ์ตัวนี้ไม่มีครอสฯ ให้ มันจะเหมาะกับการใช้งานร่วมกับลำโพง Self-power หรือมีครอสฯในตัวมากกว่า ซึ่งใช้งานร่วมทั้งตู้ซับวูฟเฟอร์และมิดไฮ แต่ว่าถ้าเป็นแอคตีฟ ชุดนี้รับ L/R ออกเป็น L/R รับโมโนออกเป็นโมโน เคสนี้รับโมโนออกเป็น L/R ไม่ได้
ฟังก์ชันโดนๆ
ผู้ที่เหมาะกับ goRack คือนักดนตรี สำหรับนักดนตรีมันจะมีฟังก์ชันที่ว่า นำสัญญาณไลน์เอฟเฟ็กต์ไปเข้าโน่นนี่นั่น แล้วนำสัญญาณมาเข้าอินพุตนี้ เป็นพวกเล่นโฟล์คซองตามร้านอาหาร จะเหมาะมาก อีกกรณีหนึ่งคือกีตาร์ไฟฟ้า ปกติสัญญาณจากกีตาร์ไฟฟ้าเมื่อนำออกมาจากเอฟเฟ็กต์แบบก้อนมันจะเป็นโมโนอยู่แล้ว หรือหากเป็นมัลติเอฟเฟ็กต์จะออกเป็นสเตอริโอได้ จะเข้าเป็น 2 ช่องหรือ 1 ช่อง หากเค้ามีมัลติแทร็กจะนำมาใช้ร่วมกันได้ดี สัญญาณนั้นจะนำมาเข้าที่ Aux INPUT ของตัว goRack สมมติส่งสัญญาณมาจากมัลติแทร็กแล้วส่งเอาท์พุตออกมา โดยส่งออกไป 2 ไลน์ สมมติไปเวิร์คช็อปการเล่นกีตาร์ แล้วมันมีแบ็กกิ้งแทร็ก ซึ่งเค้าจะไปเล่นสดเฉพาะไลน์กีตาร์ เค้าก็จะต่อสัญญาณแบ็คกิ้งแทร็กผ่าน Aux INPUT แล้วสัญญาณ L/R ก็นำไปเข้ามิกเซอร์ได้เหมือนกัน หรืออีกกรณีต่อสัญญาณเอฟเฟ็กต์กีตาร์เข้าที่ goRack แล้วนำเอาต์พุตไปต่อเข้ากับมิกเซอร์หรือตัว Self-power L/R แบบนี้ก็ทำได้ เหตุผลที่นำสัญญาณผ่านตัวนี้ ก็เพื่อที่จะใช้ฟังก์ชันของอุปกรณ์ อย่างการเล่นโฟล์คซองนี่ถือว่าจำเป็น กรณีกีตาร์ไฟฟ้าอาจจะไปใช้ฟังก์ชันบางอย่างบนตัวเอฟเฟ็กต์ได้ แต่หากเป็นกรณีกีตาร์โปร่ง อาจต้องมาใช้บน goRack เช่น คอมเพรสเซอร์, EQ เป็นต้น กรณีเสียงร้องก็สามารถช่วยเรื่องฟีดแบ็กได้ แต่ไม่ถึงกับมีฟังก์ชันออโต้ อย่างแรกไปที่ Anti-Feedback พอกดสวิตช์มันจะขึ้นคำว่า "AF" เมื่อเราเข้าไปที่หน้า Edit ไฟจะกระพริบ มันก็จะเลื่อนไปได้ 3 ระดับ ระดับ 1 หมายถึงจะกดสัญญาณน้อยๆ
กรณีที่สัญญาณเกิดการฟีดแบ็กหวีดหอนไม่แรง เราตั้งไว้ที่ระดับ 1 ก็พอ แต่มันก็มีแบนด์ความถี่จำกัดเหมือนกัน สัก 15 แบนด์ประมาณนี้ คือลิมิตเอาไว้ ไม่ได้มีเยอะถึง 30 แบนด์ ซึ่งเป็นโหมดที่ไม่ได้ฟิกซ์ไว้ สมมติย่านความถี่ 4kHz หอน ถ้าเป็นพวกแอนตี้ฟีดแบ็กบนตัว DriveRack มันสามารถตั้งได้ว่าจะฟิกซ์ไว้กี่ย่านความถี่ จะให้มัน Live กี่ความถี่ ในกรณีหากเป็น goRack มันจะบอก 1-2-3 ซึ่งเลข 2 จะเป็นการกดสัญญาณปานกลาง ส่วนเลข 3 จะกดสัญญาณมากสุด กล่าวคือคัตสัญญาณลงไปลึกๆ เลย ซึ่งการกดในที่นี้ก็คือการคัตนั่นเอง มันจะหน่วงเวลาได้ประมาณ 30 วินาที แล้วจะคลายกลับมาเหมือนเดิม แต่ปัญหาคือเวลาที่มันคัตลงไปมากๆ เสียงมันจะไม่ค่อยนิ่ง ความถี่ไม่ครบ ย่านนั้นหาย ย่านนี้หายบ้าง ในการคัตจะแตกต่างไปจากระบบก้าน EQ ตรงนั้นเราสามารถปรับเป็นโทนได้ ข้อดีของอุปกรณ์ตัวนี้ไม่จำเป็นต้องใช้แอปฯ มาวัดความถี่เพื่อเช็คสเปกตรัม คนที่ไม่รู้เรื่อง Gain before feedback ก็จิ้มตัวนี้ได้เลย ถือว่าช่วยแก้ปัญหาได้ในระดับนึง โดยเฉพาะนักดนตรีหรือผู้ใช้ที่ไม่รู้เรื่องการคัตความถี่เพื่อไม่ให้เกิดการหวีดหอน
ถัดมาเป็นคอมเพรสเซอร์ กดฟังก์ชันค้างไว้แล้วมันจะขึ้น CP และมีตัวเลขโชว์ 0-99 นั่นคือ Threshold ถ้าตั้งไว้ที่เลข 1 เป็นการกดน้อยที่สุด ยิ่งตัวเลขมากขึ้นก็แปลว่ากดมากขึ้น Threshold ยิ่งต่ำลง ระดับ 0-99 ไม่ใช่หน่วย dB แน่นอน คล้ายๆ บอกระดับโวลุ่มมากกว่า หรือเรียก ว่าระดับน้ำหนักในการกดก็ได้ ถ้าตั้งเป็น 1 ระดับก็จะเป็นแบบนึงถ้าตั้งเป็น 99 ระดับก็จะลดลงมา การคอมเพรสของมันก็มากขึ้น ถ้าตั้งน้อยจะกดน้อย ถ้าตั้งมากก็กดมาก เราก็เล่นไป ค่อยหมุนไปเพราะมันไม่มีพารามิเตอร์อื่นๆ บอก ตัวนี้มันจะคล้ายๆ ตัว Over Easy มันจะเป็นลักษณะ Soft knee ซึ่งมันจะฝังตัวมาเลย ถ้าจะทำ Hard knee จะเป็นลักษณะจู่ๆ กดมาเลย กราฟมันจะโค้งๆ มาเลย สำหรับค่า Soft knee มันจะเหมาะเกือบทุกงานเลย แต่ถ้าผมทำเป็น Hard knee เช่นนำนักร้องมาร้อง มันจะกดหนักเลย ชนิดที่ว่านักร้องร้องจนเหนื่อยเลย มาถึงกดทันที แต่ถ้าเป็น Over Easy มาถึงค่อยๆ กด ส่วนเรโชจะตั้งมาให้อัตโนมัติ
สำหรับ goRack ตัวนี้จะมีฟังก์ชัน Sub Synth มี 99 ระดับ มันจะสังเคราะห์ความถี่ต่ำเพิ่มขึ้นมา ทำให้เสียงหนาขึ้น เหมือนกับพวก ถามว่าทำไมต้องใช้ Sub Synth สมมติสัญญาณเสียงจากกีตาร์เบสต่อตรงมาที่อุปกรณ์แล้วนำไปออกตู้ PA ผลของการใช้ฟังก์ชันนี้จะทำให้เสียงเบสอ้วนหนาขึ้น กด ON เพื่อใช้งาน ในกรณีกดค้างไว้มันจะกระพริบเพื่อเป็นการเข้าถึงโหมด Edit แต่ฟังก์ชันเริ่มต้นมันไม่เหมือนชาวบ้าน ถ้าตั้งเป็น 1 จะสังเคราะห์น้อยๆ หรือไม่มีเลย จะเรียกเป็นเปอร์เซ็นต์ก็ได้ เมื่อเพิ่มค่ามากขึ้นก็จะสังเคราะห์มากขึ้น ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่จะเพิ่ม Sub Synth ให้มาผสมกับเนื้อเสียงจากแหล่งสัญญาณที่ผ่านเข้ามา หากตั้งเป็น 31 ก็คือ 31% ก็คล้ายๆ เป็นสัญญาณ Wet โดยนำ Dry Signal เข้ามาผ่านอุปกรณ์ ว่าไปแล้วตัว Sub Synth ก็คล้ายๆ เอฟเฟ็กต์ยูนิตนึง
ถัดไปเป็นเรื่องของ EQ ตัว EQ ในอุปกรณ์จะมีทั้งหมด 16 พรีเซต เราไม่สามารถตั้งได้ ในคู่มือมันจะบอกว่าถ้าเลือกเป็นพรีเซต 1 จะเป็นรูปแบบการ EQ เฉพาะ แต่ไม่ได้เจาะจงในการ EQ เบส หรือ EQ กระเดื่อง หรือ EQ สแนร์อะไรแบบนี้ ซึ่งมันจะเป็น EQ เหมือนในรถยนต์ มี Rock, Pop ซึ่งมันจะมีรูประบุเอาไว้ สำหรับการ Mute ก็คือการปิดเสียง ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามหากไฟกระพริบอยู่ถือว่าเป็นการ Mute ด้านล่างจะเขียนว่าโหมด หากกดค้างไว้มันจะเป็นโหมด 1-3 สำหรับโหมด 1 เป็นลักษณะการเราท์ติ้งสัญญาณแบบนึง ผ่าน Anti Feedback ผ่านคอม เพรสเซอร์ แล้วจะมี Aux In หากมีสัญญาณเข้ามามันจะ Sum กันแล้วออกเป็นโมโน ซึ่งมีหลายๆ โหมดให้เลือกใช้งาน ในโหมดที่ 2 จะ Sum เป็นโมโนเหมือนโหมดแรก สัญญาณขาเข้าอาจจะเป็น L/R อาจเป็นไมค์พูดซึ่ง PAN สัญญาณมาแล้ว และยังรับสัญญาณแบบแบ็คกิ้งแทร็กก็ได้ ที่ตัวอุปกรณ์ยังมีคอมโบแบบ XLR เพื่อรับสัญญาณขาเข้า เช่นมีการนำสัญญาณกีตาร์ไฟฟ้าเข้าฝั่งซ้าย และนำสัญญาณกีตาร์โปร่งเข้าฝั่งขวา คราวนี้สัญญาณกีตาร์โปร่งก็จะอยู่ฝั่งขวาตลอดเลย ส่วนกีตาร์ไฟฟ้าก็จะอยู่ซ้ายตลอด แต่ไม่สามารถ PAN ได้ คราวนี้มันจะ PAN ซ้ายสุดกับขวาสุดให้เราเลยเรียกว่าใช้งานง่ายเลย เป็นการฟิกซ์ให้กับผู้ใช้ ในกรณีผู้ใช้ที่ชอบปรับนั่นปรับนี่เยอะๆ จะไม่ชอบอุปกรณ์ตัวนี้ แต่ถ้าผู้ใช้ที่ต้องการความง่าย สะดวกสบายก็จะชอบมัน ถ้าเป็นมือใหม่ที่ชอบจิ้มๆๆ แล้วใช้งาน เพราะมันจะสะดวก ไม่ต้องคิดอะไร บางคนอาจจะปรับนั่นนี่เพื่อให้ใช้งานกว้างขึ้น อุปกรณ์ตัวนี้เหมาะสำหรับกับงานที่ต้องการใช้กับงานที่เป็นโฟล์คซอง มีการร้องและเล่นกีตาร์ไปด้วย หรือหากเป็นนักดนตรีบนเวที สามารถต่อสัญญาณผ่านอุปกรณ์ตัวนี้แล้วนำสัญญาณขาออกไปเข้ามิกเซอร์ของ FOH ก็ได้เช่นกัน
ถัดไปเป็นโหมดพรีเซตที่ 3 สำหรับพรีเซตนี้จะเป็นอะไรที่แอดวานซ์เลยครับ คือมีทุกอย่างเหมือนกัน แต่มันจะเข้ามาเป็น L/R ถ้าสัญ ญาณไมค์อินพุตเข้ามามันจะผ่านออกเอาต์พุต L/R เหมือนกัน คราวนี้ออกเป็นสเตอริโอได้ คราวนี้สามารถเสียบไมค์ 2 ตัวได้ แล้วผ่าน Anti Feedback ผ่านคอมเพรสเซอร์ หลังจากนั้นไม่ผ่านอะไร นี่เป็นการเราท์ติ้งสัญญาณของพรีเซตที่ 3 จากนั้นก็จะถูก Sum จากนั้นจะเกิดเป็นสัญ ญาณโมโน ทีนี้ Aux Input เข้ามาอีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งไม่ผ่าน Anti Feedback ไม่ผ่านคอมเพรสเซอร์ แต่จะมาผ่าน Sub Synth แทน การใช้พรีเซตนี้แนะนำให้ใช้กับนักดนตรีโฟล์คซอง อย่างพี่แมว จีระศักดิ์ ปานพุ่ม ก็ใช้โหมด 3 อยู่นะครับ ถามว่า ทำไมจึงนำ Sub Synth มาไว้ที่ Aux Input ทำไมไม่นำไปไว้ที่ไมค์ เหตุผลก็เพราะไมค์ไม่ต้องการย่านความถี่ต่ำอยู่แล้ว หากใส่ไปมันจะฟังไม่รู้เรื่อง แต่ถ้านำไปใส่กับพวกมัลติแทร็ก หรือแบ็กกิ้งแทร็กเนื้อเสียงบางมาก คราวนี้นักดนตรีเล่นไปคนก็ไม่อิน เพราะว่าไม่มีอะไรมากระทบที่ตัวเรา เค้าก็สร้าง Sub Synth ขึ้นมา มันก็จะมีเสียงเบสขึ้นมาทึ่ม..!..ทึ่ม..!..ทึ่ม..! มาคลุมให้เสียงมันหนาขึ้น กรณีที่วงดนตรีเล่นกันน้อยชิ้น สามารถนำอุปกรณ์ตัวนี้ไปช่วยได้ เสียงมันจะอิ่มขึ้นมา เช่นเล่นกัน 3 ชิ้น พวกกีตาร์ เบส กลอง หรือคีย์บอร์ดบางตัวจะมีสายมินิแจ็คออกมา สามารถเชื่อมผ่านช่องนี้ได้เช่นกัน เรียกว่าใช้กับอุปกรณ์เครื่องดนตรีต่างๆ ได้ ถ้าต้องการให้เสียงมันอิ่มหรือหนาขึ้น
ว่าไปแล้วเทคโนโลยี Sub Synth น่าจะมีเพียง dbx ซึ่งเป็นจุดเด่นของอุปกรณ์ตัวนี้ สำหรับโพรเซสเซอร์มันจะมีการแบ่งระดับกันอยู่ ไล่ตั้งแต่ระดับแอดวานซ์ ไปจนถึงแอดวานซ์สุดๆ ไล่ลงมาระดับกลาง เช่น dbx Venue 360 ระดับล่างก็จะเป็น goRack สำหรับฟังก์ชัน 3 เนี่ยถือว่าทำงานได้คุ้มที่สุด ไม่ว่าจะเอาไมค์เข้ามาหนึ่งตัวหรือสองตัว แบ่งเป็นกีตาร์หนึ่งตัวและร้องอีกหนึ่ง ส่วนคีย์บอร์ดต่อสัญญาณมาเข้า Aux Input หรือจะเป็นแบ็คกิ้งแทร็ก ก็สามารถร้องเพลง เล่นกีตาร์ทำวงดนตรีได้แล้ว คอนเซ็ปต์หลักใช้งาน PA จะเหมาะมาก แต่เป็นลักษณะ PA ขนาดย่อม ไม่ใช่คอนเสิร์ตเต็มวงใหญ่ๆ ดูไปแล้วจะเป็นมิกเซอร์ก็ไม่ใช่ จะเป็นเอฟเฟ็กต์ก็ไม่เชิง แต่หากไม่มีมิกเซอร์อาจใช้ได้ถึง 3 แชนเนล ปกติเวลาเล่นดนตรีโฟล์คซองอาจจะใช้มิกเซอร์ 1 ตัวเพื่อต่อไมค์ร้องเข้าไปแล้วต่อสัญญาณไลน์ หรือไมค์จากกีตาร์เข้าตัวมิกเซอร์ เพียงแค่มี goRack ก็พอไม่จำเป็นต้องมีมิกเซอร์ สัญญาณเอาต์พุตจาก goRack สามารถส่งไปเข้าที่อินพุตของ Self-power แค่นี้ก็จบเลย ถ้ามองลึกๆ แล้วอุปกรณ์ไม่ได้ใช้แทนมิกเซอร์อย่างเดียว ยังมีฟังก์ชันต่างๆ ที่มากับอุปกรณ์ ซึ่งเป็นจุดน่าสนใจ สุดท้ายด้านหลังอุปกรณ์จะมีที่เชื่อมต่อ TS/TRS ทีนี้ต้องกดปุ่ม Power ของ Mic/Line เป็นการเลือกอิมพีแดนซ์แมทชิ่ง... บางคนอาจจะสงสัยว่ามันคล้าย DI Box หรือไม่... คงไม่ใช่... แต่มันจะรองรับสัญญาณ +4/-10dB และปรับอิมพีแดนซ์ให้ แถมมันไม่สามารถ Isolate ได้อีกด้วย
ทดสอบฟังเสียง
ในระหว่างนี้ได้ต่อสัญญาณใช้งานร่วมกับลำโพง JBL EON One ซึ่งเป็นตู้ลำโพงแบบ Self-Power สไตล์ลำโพงคอลัมน์ บนตัว goRack ถ้าเราต่อสัญญาณแล้ว ทีนี้มาดูเลเวลอินพุตหากเป็นสีเหลืองนั่นหมายถึงสัญญาณเริ่มพีคแล้ว แต่หากเป็นสีเขียวสัญญาณถือว่าสบายอยู่ จากนั้นผู้เขียนปล่อยสัญญาณเพลงแรกจากโน้ตบุ๊คเข้าไป ชื่อเพลง Viva La Vida ของวง Coldplay ซึ่ง Cover โดยกีตาร์โปร่งในแบบฟิงเกอร์สไตล์ หลังจากกดโหมด EQ เสียงมันก็เปลี่ยนไป โพรเซสสัญญาณได้เร็วมาก เห็นชัดว่าไดนามิกของเสียงเพิ่มขึ้นมาทันที จากนั้นลองปรับ EQ ในพรีเซตแบบต่างๆ เสียงก็เปลี่ยนแปลงตามพรีเซตที่เลือก ในส่วนคอมเพรสเซอร์ไม่ได้กดสัญญาณอย่างเดียว ยัง make up gain สัญญาณขึ้น มาให้เราด้วย จากนั้นผู้เขียนเปลี่ยนแทร็กซึ่งจะมีเฉพาะแทร็กกีตาร์ไฟฟ้าเพื่อทดสอบคอมเพรสเซอร์ ปรากฎว่ามีการเพิ่มขึ้นของเกนให้ และคอม เพรสเซอร์ก็ทำงานเร็ว ปกติเสียง EQ มันจะเปลี่ยนเนื้อเสียง แต่สัญญาณที่ผ่านออกมาถือว่าเร็วมาก ไปตามมือที่สั่งงานเลย หลังจากนั้นได้เปรียบเทียบกับเสียง Dry ที่ไม่ผ่านเอฟเฟ็กต์ใดๆ พอกลับไปโหมด Wet เสียงมีความหนาขึ้นมาเยอะเลย หนาไม่พอยังมีความกระชับอีกด้วย ทีนี้เปลี่ยนไปทดสอบกับเสียงดนตรีที่หนามาแล้วระดับนึง เพื่อเช็คดูว่าผลลัพธ์จะเป็นยังไง ช่วงแรกจะไม่เปิด Sub Synth ก็ปกติมีความหนาตามต้น ฉบับ หลังจากเปิด Sub Synth เท่านั้นแหละ หนาขึ้นเป็นกอง โดยมันจะสังเคราะห์ฮาร์โมนิกของย่านความถี่ต่ำเพิ่มขึ้น อย่างแรกต้องเลือก EQ ที่ชอบ หรือให้เข้ากับสไตล์ของดนตรีที่ป้อนเข้ามา โดยภาพรวมก็ถือว่าสอบผ่าน เรียกว่าการันตีด้วยคุณภาพของ dbx ด้วยราคาที่ไม่แพงเลย
ข้อมูล Cradit : The Absolute Sound & Stage
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ บริษัท เสียงไพศาล (สุรินทร์) จำกัด
สำนักงานใหญ่ โทร. 044-512192, 512404
สาขากรุงเทพ โทร. 083-987-1845
แผกออนไลน์ โทร. 087-474-4441